วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Learning Journal Report (8) - January 12, 2011

Data Management
ระบบ (System)
ระบบ คือ กระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ซึ่งกระบวนการจะต้องประกอบด้วยสิ่งที่นำเข้า (Inputs) แล้วนำมาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา (Outputs) สิ่งที่สำคัญคือ ระบบจะต้องสามารถระบุวัตถุประสงค์ว่า ต้องการ Outputs อะไร แล้วค่อยมากำหนด Inputs และ Process ว่าควรเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ระบบประกอบไปด้วย Environment, Boundary, Control และ Feedback
ระบบสารสนเทศ (Information System)
ระบบกระบวนการรวบรวมข้อมูล (Input) แล้วนำมาประมวลผล (Process) ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของ Outputs เพื่อให้ได้ Outputs ซึ่งคือ สารสนเทศ (Information System) เพียงอย่างเดียว ผู้รับสารสนเทศนี้ต้องมีสิทธิในการเข้าถึง และระบบสารสนเทศจะเก็บบันทึกข้อมูลที่นำมาเข้าสู่ระบบเพื่อการใช้งานต่อไปในอนาคต
ความแตกต่างของ Data, Information, Knowledge
·       Data ข้อมูลที่ยังไม่มีความหมายหรือประโยชน์ต่อผู้ใช้
·       Information ข้อมูลที่มีความหมายและประโยชน์ต่อผู้ใช้ ช่วยตัดสินใจได้
·       Knowledge หรือ องค์ความรู้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ในลักษณะของการเพิ่มพูนความรู้จากเดิม
ตัวอย่าง เช่น วิชา AI613 เรียนวันที่ 12,19 มค. 2 กพ.เราอาจเรียกโดยรวมว่า Message
ถ้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการบัญชีซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียใน message นี้ว่าจะต้องเข้าห้องเรียนในวันเวลาดังกล่าว message นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมหรือการตัดสินใจ message ถือว่าเป็น Information
ถ้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการตลาดซึ่งไม่มีมีส่วนได้ส่วนเสียใน message นี้ว่า เพราะไม่ได้ลงทะเบียนในวิชาดังกล่าว message นี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมหรือการตัดสินใจ message ถือว่าเป็น Data
ผู้จัดเตรียมสารสนเทศต้องสามารถคาดคะเนความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศได้ในระดับหนึ่ง หรือ ต้องคิดเผื่อแทนด้วย
องค์ประกอบของ Information System
1.   Hardware
2.   Software
3.   Data
4.   Network
5.   Procedures
6.   People
ประเภทของ Information System
Information System สามารถมองได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามแนวตั้ง เป็นการแบ่งตามแผนกภายในองค์กร โดยแต่ละแผนกก็จะมี IS Support การทำงาน เช่น ระบบสารสนเทศทางบัญชี (AIS) เป็นต้น
2.  แบ่งตามแนวนอน เป็นการแบ่งตามระดับของผู้บริหารหรือการใช้งาน ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น
·       ระดับล่าง: Transactional Processing System (TPS) ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญที่สุด เพราะข้อมูลเกือบทั้งหมดจะมาจาก TPS ดังนั้นจีงต้องมีการบริหารจัดการในส่วนนี้ให้ดีดี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน
·       ระดับกลาง: Management Information System (MIS)
·       ระดับสูง: Executive Support System (ESS)
Data Management
มีความสำคัญในการเตรียมข้อมูลก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
·       Data profiling ทำความเข้าใจลักษณะข้อมูลและแหล่งเก็บข้อมูลที่มีอยู่
·       Data Quality Management เพิ่มคุณภาพให้กับข้อมูล
·       Data Integration ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลด้วยการบูรณาการข้อมูลที่จำเป็นเข้าด้วยกัน
·       Data Augmentation สร้างคุณค่าของข้อมูลให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี Data Management มีความยุ่งยากในเรื่องต่างต่อไปนี้ เช่น ข้อมูลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลา และกระจัดกระจายทั้งองค์กร รวมทั้งอาจข้อมูลซ้ำซ้อนและ องค์กรต้องจัดหาข้อมูลจากภายนอกมาประกอบการตัดสินใจด้วย หรือ ประเด็นสำคัญในลักษณะของข้อมูลเอง อาทิ ความปลอดภัยของข้อมูล คุณภาพ และการบูรณาการของข้อมูล
Data Life Cycle Process
เราควรทราบ Data Life Cycle Process เพื่อจะได้ทราบว่า จุดเริ่มต้นและจุดจบของข้อมูลอยู่ที่ไหน จะได้วางแผนในการเก็บข้อมูลใหม่ๆได้ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก
·       Transactional Processing System (TPS) ซึ่งเป็นข้อมูลภายใน (Internal Data) ที่จัดเก็บใน Database
·       มีข้อมูลที่ได้มาจากภายนอก (External Data)
·       มาจาก Personal Data ซึ่งเป็นข้อมูลที่พนักงาน/บุคลากรใช้
เมื่อเก็บข้อมูลแล้วก็จะมีการจัดรูปแบบใหม่เพื่อเก็บเข้าใน Data Warehouse เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการวิเคราะห์ต่อไปในอนาคต
Data Warehouses
        จะไม่ใช่ Database ขนาดใหญ่ที่เก็บข้อมูลทั้งหมด แต่เก็บข้อมูลบางส่วนมาจาก Database เฉพาะในส่วนของข้อมูลที่ต้องการมาใช้ จะเป็นข้อมูลที่ถูกจัดใหม่ และพร้อมสำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจในขั้นต่อๆไป
คุณสมบัติของสิ่งที่เก็บใน Data Warehouse
1.  Organization
2.  Consistency
3.   Time variant
4.   Non-volatile
5.   Relational
6.   Client/server

นายสัจจวัฒน์ จันทร์หอม
เลขทะเบียน นศ. 5302110043

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น