วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

IT Learning Journal Report(3) – November 22, 2010

Transaction Processing Systems (TPS) หรือ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
TPS เป็นหนี่งในระบบสารสนเทศของบริษัท ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ TPS ดังต่อไปนี้
พัฒนาขึ้นครั้งแรกตั้งแต่กลางทศวรรษ 1950 ในช่วงหลังสงครามโลก
-      TPS ถูกคิดค้นเพื่อประยุกต์คอมพิวเตอร์ใช้กับธุรกิจในยุคแรกๆ
-      TPS ช่วยในเรื่องของการทำงานที่มีลักษณะซ้ำๆกัน (Repetitive)
-      TPS จะช่วยรวบรวมและจัดระเบียบรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction)
-      TPS เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง มักเก็บตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
โดย TPS จะสนับสนุนการปฏิบัติงานหลักขององค์กรให้ทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เช่น การวางบิลลูกค้า การคำนวณเงินเดือน ฯลฯ เลยถือว่า TPS จึงเป็นระบบที่มีความสำคัญมากต่อธุรกิจ
TPS characteristics
-      Reliability : ระบบมีการเก็บข้อมูลและประมวลผลที่คงที่น่าเชื่อถือ
-      Standardization : ข้อมูลมีลักษณะเดียวกันเพื่อให้ผู้ใช้ระบบนั้นสามารถยึดถือปฏิบัติได้
-      Controlled Access : มีระบบรักษาความปลอดภัยโดยอนุญาตเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
TPS มีลักษณะที่ต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ TPS ควรสามารถเก็บฐานข้อมูลจำนวนมากได้ TPS ประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพราะมีปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมาต่อวัน การประมวลผลของ TPS ควรมีโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน โดย TPS จะมีการประมวลผลเป็นประจำทุกวันทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ TPS ควรรักษาความปลอดภัย และรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
วงจรของการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
1.             Data entry : เก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจโดยบันทึกข้อมูลเข้าไป เช่น POS ในsupermarket
2.             Transaction processing แบ่งเป็น
-      Real time : สามารถเก็บข้อมูลและประมวลผลได้ทันทีแบบ online แต่มีต้นทุนสูง เพราะอาจมีลักษณะงานบางอย่างไม่จำเป็นที่จะต้องประมวลผลตลอดเวลา
-      Batch : ข้อมูลถูกรวบรวมไว้แล้วประมวลผลในเวลาที่กำหนด ไม่จำเป็นต้อง Online real-time เช่น ระบบ Payroll เป็นต้น
3.             Database updating การบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลและการจัดการกับฐานข้อมูล ซึ่งเราควรคำนึง
ความถูกต้องของข้อมูลความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
4.             Document report ออกรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสั่งซื้อ ใบส่งจ่าย เช็คสั่งจ่าย ใบแสดงสถานะของลูกค้า เป็นต้น
5.             Inquiry Processing รับคำร้องสอบถามข้อมูล ผ่าน Internet, Intranet, Extranet, Web browser ตลอดจนระบบฐานข้อมูล และสามารถนำเสนอในรูปแบบเอกสารสำหรับพิมพ์ หรือทางหน้าจอ เช่นการร้องตรวจสอบยอดค้างในบัญชีของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของระบบประมวลผลการเปลี่ยนแปลง
-      เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน
-      เพื่อติดตามรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร
-      เพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ เนื่องจากTPSเป็นระบบที่เป็นหัวใจขององค์กรที่คอยสนับสนุนระบบอื่นๆในองค์กร
ผู้ใช้ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
-      ผู้จัดการ
-      ผู้ควบคุมดูแลระดับล่าง (Low-level Supervisor)
-      ผู้ทำงานในระดับปฎิบัติการ (Operation level)
Marketing Information System Application
-      สามารถใช้เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าและบริการตามความต้องการของตนได้ เช่น Dell, Jaguar เป็นต้น
-      ยังใช้เป็นช่องทางการตลาด PR ได้อีก
ตัวอย่างระบบ TPS ในฟังก์ชั่นต่างๆ
-      HR มักใช้ในการรับสมัครงาน บันทึกชั่วโมงทำงาน ระบบจ่ายเงินเดือน Training ระบบประเมินผลงาน ระบบจัดการผลประโยชน์พนักงาน เป็นต้น
-      Logistic  เช่น เทคนิค RFID สามารถใช้ในการระบุและ track สินค้าได้
-      E-Procurement  ใช้ในการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน B2C และ B2G
-      การใช้งานอื่นๆ เช่น Software Helps Cirque du Soleil : คณะละครสัตว์คณะหนึ่งจัดการแสดงทั่วโลก ทำให้มีพนักงานจำนวนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูล รวมทั้งการจัดส่งของหรืออุปกรณ์ต่างๆที่จะต้องจัดส่งข้ามเมืองเพื่อจัดการแสดงในที่ต่างๆ หรือ สายการบินที่ใช้ In-flight card payments เข้ามาใช้แทนบัตรเครดิตในการจองตั๋วหรือชำระเงิน
Presentation of IT hype cycle
Virtualization
เทคโนโลยี Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เครื่องแม่ข่าย (Server) หนึ่งเครื่อง สามารถมีระบบปฎิบัติการหรือระบบเสมือนอยู่ภายในได้มากกว่าหนึ่งระบบ โดยสร้าง Layer ของการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับระบบปฎิบัติการขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Hypervisor หรือ Virtual Machine Monitor (VMM) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการให้ระบบปฎิบัติการหลายๆ ตัวในเครื่องสามารถใช้งานทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory หรือ Hard disk ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี Virtualization ทำให้สามารถช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแม่ข่าย และใช้งานเครื่องแม่ข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงบริหารจัดการระบบที่ดีขึ้นด้วย
Speech Recognition
            Speech Recognition คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลงเสียงพูด (Audio File) เป็นข้อความตัวอักษร (Text) โดยสามารถแจกแจงคำพูดต่างๆ ที่มนุษย์สามารถพูดใส่ไมโครโฟน โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และเข้าใจคำศัพท์ทุกคำอย่างถูกต้องเกือบ 100% โดยเป็นอิสระจากขนาดของกลุ่มคำศัพท์ ความดังของเสียงและลักษณะการออกเสียงของผู้พูด โดยระบบจะรับฟังเสียงพูดและตัดสินใจว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นคำๆใด
Radio Frequency Identification (RFID)
เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจรูปแบบใหม่และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตยิ่งขึ้น เช่น ระบบบันทึกข้อมูลการจัดการสินค้าระหว่างการผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อ Track and Trace หรือในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน บัตรพนักงานที่ใช้ทั่วไป เป็นต้น
การใช้งาน ก็คือ ระบุตัวตน และการติดตาม เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ มาจากฟาร์มไหน สามารถระบุข้อมูลได้ค่อนข้างมาก ปัจจุบันใช้ระบะ ID Card ของพนักงาน เครื่องชำระเงินอัตโนมัติ easy pass ,ใช้งานใน supply chain ติดต่อไปยัง supplier,ใช้ติดตาม ว่าสินค้าตอนนี้ไปอยู่ ณ ที่ใด

สัจจวัฒน์  จันทร์หอม
เลขทะเบียน นศ. 5302110043

1 ความคิดเห็น:

  1. ยังไงรบกวน โพสท์ (comment) ในหัวข้อ

    "รบกวน นศ คลาส AI613 sem 2/2553 ทุกคนคะ"

    โดยโพสท์

    ชื่อ + นามสกุล + รหัส นศ + Username ลงในนี้ topic นั้นด้วยนะคะเพื่อความสะดวกในการเช็คงานต่างๆคะ

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ